ครั้งหนึ่งความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้ทาลายวงการเพลงลงไป เมื่อได้กาเนิดการเข้ารหัสเสียงในรูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า Mp3 ซึ่งคิดค้นและพัฒนาโดยทีมวิจัย The Fraunhofer Institute for Integrated Circuits จากเยอรมันนี
แม้ Mp3 จะลดคุณภาพเสียงต้นฉบับไป 75 – 95% แต่ผู้บริโภคก็ไม่สนใจ เพราะ Mp3 ทาให้ผู้คนเข้าถึงเพลงที่ชอบได้ง่ายขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลงจนถึงไม่เสียค่าใช้จ่าย ทาให้เกิดการเผยแพร่แบบละเมิดลิขสิทธิ์มากมาย ไม่มีรายได้กลับไปที่ค่ายเพลงหรือศิลปินวงการเพลงก็เริ่มท้อ เพราะทาเพลงคุณภาพเสียงดีๆไปก็ถูกบีบอัดให้เป็น Mp3 อยู่ดี เป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปีที่ Mp3 ได้กาเนิดมา จนไม่มีใครคิดว่าจะกอบกู้วงการเพลงจาก Mp3 ได้ แต่แล้ววันนี้จะมาถึง วันที่ Mp3 ถึงคราวล่มสลาย กับการมาของ “ Music Streaming “
ต้องบอกก่อนว่าไฟล์ Mp3 ยังคงมีตัวตนอยู่นะครับ แต่ทางผู้พัฒนาได้ทาการยกเลิกสิทธิบัตร เพราะปัจจุบันได้มีการเข้ารหัสเสียงแบบใหม่เกิดขึ้นมากมายและมีคุณภาพที่ดีกว่า Mp3
Music Streaming
ในปัจจุบัน Music Streaming เข้ามามีบทบาทต่อการบริโภคการฟังเพลง ของเราเป็นอย่างมาก เพราะคนส่วนใหญ่ล้วนมีสมาร์ทโฟนไว้ใช้ เพียงแค่โหลด Application Music Streaming ของแบรนด์ต่างๆ แค่นี้คุณก็สามารถฟังเพลงจากทั่วโลกได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปหาโหลดเพลงจาก Internet ที่เสี่ยงว่าไฟล์จะมีไวรัสแถมมาเหลือเกิน
แต่ในยุคที่อะไรมาไวไปไวแบบนี้ล่ะ อะไรคือจุดดึงดูดในการฟังเพลงของคน ??
คนสมัยนี้เบื่อทุกสิ่งทุกอย่างง่ายเหลือเกิน เพราะเราได้สิ่งต่างๆมาครอบครองโดยง่ายดาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะตอบโจทย์คนสมัยนี้คือการที่คุณจะต้องเป็นคนแนะนาสิ่งต่างๆให้กับเขา บริการให้เขาถึงที่ อาจจะแนะนาสิ่งที่คล้ายกับสิ่งที่เขาชอบ หรือจะสิ่งใหม่ๆก็ดี มันอาจจะดูเหมือนข้อเสีย เพราะเหมือนเป็นการให้ท้ายผู้คนให้มีนิสัยมักง่าย แต่ถ้าพฤติกรรมการบริโภคมันเปลี่ยนไปขนาดนี้ก็ไม่เสียหายหรอกที่จะทา ถ้าไม่ทาสิ ธุรกิจเสียหายแน่ๆ
คุณคงจะสังเกตความฉลาดของการให้บริการ Music Streaming ไม่ว่าจะเป็นการแนะนาเพลงหรือ Playlist ที่คล้ายกับที่คุณฟัง อัพเดทเพลงใหม่ให้เรา หรืออะไรก็ตามทีที่ทาให้คุณรู้สึกว่า ทาไมผู้ผลิตเหมือนอ่านใจเราออกนะ ??
ผู้ผลิตไม่ได้มีพลังพิเศษอะไรหรอกครับ แต่นี่แหละคือการนาความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ / วิทยาศาสตร์/ สถิติ มาประยุกต์กับศาสตร์จิตวิทยา ดนตรี และอื่นๆอีกมากมายก่อกาเนิดหัวข้อที่เรียกว่า “Music Information Retrieval”
Music Information Retrieval (MIR)
หัวข้อนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของโลกเลย มีการวิจัยมามากกว่า 20 ปี เพียงแค่ยังไม่มีอะไรสนับสนุนให้หัวข้อนี้แสดงประโยชน์ในเชิงธุรกิจมากพอ จนการมาถึงของ Music Streaming นี่แหละครับ ก็ได้เวลาที่ MIR ออกโรงสักที หากคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้วเริ่มสนใจในหัวข้อนี้ แต่ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร ผมขอให้คุณอ่านต่อไปอีกไม่เกิน 5 นาที คุณจะเข้าใจในเบื้องต้นแน่นอน
MIR เป็นการใช้ศาสตร์ด้านวิศวกรรมมาประมวลผลสัญญาณเพลง เพื่อวิเคราะห์หาคุณลักษณะเด่นของแต่ละเพลง หาความเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ ความแตกต่าง และอื่นๆอีกมากมาย
คุณจะวิเคราะห์จังหวะ เมโลดี้ คุณลักษณะ คีย์เพลง ก็แล้วแต่คุณจะเลือกเลยครับ อยากแปลก อยากแหวก เทคโนโลยีรองรับไอเดียคุณได้แน่นอน จากนั้นก็ต้องใช้ความรู้ทางด้าน Data เพื่อจัดระเบียบข้อมูลโดยอ้างอิงจากหลักจิตวิทยา ใช้ความรู้ทางด้าน Machine Learning เพื่อให้ คอมพิวเตอร์สามารทานายหรือตัดสินใจได้ด้วยตนเอง นาเสนอๆข้อมูลให้แก่ผู้บริโภคตามพฤติกรรม และแน่นอนเราต้องมีความรู้ทางด้านสถิติในการเก็บข้อมูลเชิงสถิติ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดก็คือการสร้าง AI ในธุรกิจเพลงนั่นเองครับ
แต่ที่ผมรู้สึกว่าพอนา AI มาประยุกต์กับเพลงมันมีอะไรน่าค้นหาเป็นพิเศษ ก็เพราะดนตรีเน้นการสื่อสารทางอารมณ์และความคิด มากกว่าเหตุผล อีกทั้งเพลงคือเพื่อนที่อยู่กับคุณได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกคนสามารถมีอารมณ์ร่วมกับเพลงได้ทุกสถานการณ์ ไม่มีงานศิลปะไหนเข้าถึงง่ายกว่าบทเพลง ไม่มีใครในโลกนี้ไม่เคยฟังเพลง ทุกคนต้องเคยร้องเพลงตอนอาบน้าไม่ว่าจะร้องเพี้ยนร้องเพราะ ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งได้เขียนไว้ว่า “ หากคุณต้องการผูกมิตรกับใครสักคนแล้วไม่รู้จะคุยอะไร ให้คุณชวนคุยเรื่องเพลง เพราะทุกคนล้วนเคยฟังเพลง “
หากคุณไปอ่านวิจัย MIR ของต่างประเทศ ผู้วิจัยก็ล้วนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เรื่องอารมณ์นี่มันช่างซับซ้อนเกินจะเข้าใจเสียจริงนะ แต่มันก็น่าศึกษาเหลือเกิน และหากคุณอ่านแล้วเกิดความสนใจแต่ยังมองไอเดียไม่ออกว่า MIR จะวิเคราะห์อะไรกันบ้าง ลองเข้าไปเว็บไซต์เหล่านี้ดูครับ https://transactions.ismir.net และ http://www.ismir.net เป็นกลุ่มที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะ และเป็นผู้จัดงาน Conference ประจาปีในด้าน MIR โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2000 หากคุณอยากเอา MIR ไปคุยกับใครไม่ว่าจะอาจารย์หรือคนทั่วไปก็ตาม ก็คงจะยากหน่อยที่จะมีใครสนใจ เพราะประเทศไทยไม่ได้ให้มูลค่ากับดนตรีมากพออยู่แล้ว บวกกับเจอ Mp3 ทาลายมูลค่าวงการเพลงมาแล้ว ทาให้ผู้คนคิดว่าดนตรีนั้นราคาถูก ไม่ควรค่าแก่การลงทุน ทั้งที่เวลาจัดงานรื่นเริงก็มักจะหาวงดนตรีมาสร้างบรรยากาศในงาน แต่ก็มักจะลดต้นทุนในการจ้างนักดนตรีเป็นอันดับแรกอยู่เสมอ
ทุกวันนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่า Music Streaming ส่งผลดีต่อวงการเพลงจริงไหม ต้องรอดูกันต่อไป…
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจความสาคัญของ MIR ก็ไม่เป็นไรครับ
แค่จะบอกว่า “ Spotify เป็น Music Streaming ที่นิยมที่สุด มูลค่าสูงสุด
ก็เพราะมีการใช้ AI จัด Playlist ถูกใจผู้บริโภคนี่แหละครับ “